ภูมิศาสตร์
วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559
ชายแดนที่ติดกับประเทศพม่า
พม่ามีพื้นที่กว้างใหญ่ ชายแดนติดกับประเทศอื่นๆ ถึง 5 ประเทศ
- ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ มีพรมแดงติดประเทศจีน 2,185 กิโลเมตร
- ทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดประเทศลาว 235 กิโลเมตร และประเทศไทย 2,401 กิโลเมตร
- ทิศตะวันตก มีพรมแดนเชื่อมต่อกับประเทศอินเดีย 1,463 กิโลเมตร และประเทศบังกลาเทศ 193 กิโลเมตร
- ส่วนทาง ทิศใต้ เป็นชายฝั่งทะเลเชื่อมต่อกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
ภูมิอากาศ ประเทศพม่า
ภูมิอากาศ ประเทศพม่า
สภาพอากาศ
สหภาพพม่าตั้งอยู่ในเขตมรสุมเมืองร้อน (tropical monsoon) จำแนกฤดูกาลประเทศพม่ามี 3 ฤดูเช่นเดียวกับประเทศไทย แต่จะมีฝนตกชุกและมีความชุ่มชื้นสูงกว่าไทยมาก ดังนั้น หากท่านมีปัญหาสุขภาพเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีความชื้นสูง ควรพกยาติดตัวไปด้วยทั้งนี้ นักท่องเที่ยวจะไม่นิยมเดินทางไปเที่ยวพม่าในฤดูฝนสำหรับในฤดูหนาวอากาศเย็นสบาย ทางเหนือของประเทศจะมีอากาศหนาว เป็นช่วงเวลาที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากส่วนฤดูร้อนอากาศค่อนข้างร้อน โดยเฉพาะตอนบนของพม่า ได้แก่ เมืองพุกามและมัณฑะเลย์
ฤดูฝน
ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จะพัดเข้าสู่ประเทศทำให้ฝนตกเกือบทุกวัน พื้นที่ฝนชุกที่สุดจะได้แก่พื้นที่ชายฝั่งทะเล อันได้แก่ รัฐยะไข่ มณฑลเอยาวดี มณฑลพะโค และมณฑลตะนาวศรี ได้รับปริมาณน้ำฝนถึง ๑๒๐–๒๐๐ นิ้วต่อปี ในเขตพื้นที่ราบอื่นๆจะมีฝนตกเฉลี่ย ๑๐๐ นิ้วต่อปี ทางตอนกลางของประเทศซึ่งถูกกำบังด้วยแนวเขายะไข่ด้านตะวันตกจะมีฝนตกน้อยเพียง ๒๐–๔๐ นิ้วต่อปีเท่านั้น หรือเฉลี่ยราว ๒๙ นิ้วต่อปี
ฤดูหนาว
ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย ๒๑–๒๙ องศาเซลเซียส สภาพอากาศของประเทศพม่ายังแตกต่างตามความสูงต่ำของพื้นที่อีกด้วย กล่าวคือในพื้นที่สูงจะหนาวเย็นยิ่งขึ้น และยอดเขาทางตอนบนสุดของประเทศอาจมีหิมะตกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศต่ำสุดราวศูนย์องศาเซลเซียสทางตอนบน และสูงสุด ๔๕ องศาเซลเซียสทางตอนกลางของประเทศ
ฤดูร้อน
ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งอาจอุณหภูมิสูงถึง ๔๓ องศาเซลเซียส
ทั้งประเทศจะมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 32 องศาเซลเซียส แต่ยกเว้นภาคเหนือบริเวณเทือกเขาและเขตชายแดนจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย 21 องศาเซลเซียส
ฤดูที่น่าเดินทางไปท่องเที่ยว ฤดูหนาว อากาศเย็นสบายทางเหนือของประเทศจะมีอากาศหนาว เป็นช่วงเวลาที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว
พื้นที่ตอนกลางของประเทศพม่าจะมีสภาพอากาศแห้งแล้งกว่าที่อื่น ตอนบนจะอุดมไปด้วยป่าไม้ และมีฝนตกชุกมากในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตอนล่าง พื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ของพม่าจะอยู่ ณ บริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำอิรวดี สะโตง และสาละวิน ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญต่อการปลูกข้าวและผลไม้เมืองร้อน
ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศพม่าจะแบ่งได้เป็น 2 แบบตามลักษณะของภูมิประเทศคือ ตอนบนของประเทศเป็นแบบร้อนแห้งแล้งเพราะอยู่ในบริเวณเขตเงาฝน เทือกเขาสูงจำนวนมากคอยปิดกั้นลมมรสุมที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล ทำให้บริเวณตอนบนของประเทศในส่วนของที่ราบสูงจะมีอากาศที่ค่อนข้างร้อนและแห้งแล้ง ส่วนเทือกเขาตอนบนจะมีอากาศเย็นกว่า ด้านตอนล่างบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำจะมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น และมีลมมรสุมพัดผ่านทำให้ความอุดมสมบูรณ์กว่าตอนบนของประเทศ ประเทศเมียนมาร์มีอากาศแบบร้อนชื้น แต่ไม่ร้อนจัด มีภูมิอากาศคล้ายคลึงกับประเทศไทย- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศค่อนข้างเย็น และค่อนข้างแห้งแล้ง
- มรสุมเมืองร้อน ด้านหน้าภูเขาอาระกันโยมา ฝนตกชุกมาก
- ภาคกลางตอนบนแห้งแล้งมาก เพราะมีภูเขากั้นกำบังลม
- ภาคกลางตอนล่าง เป็นดินดอนสามเหลี่ยวปากแม่น้ำขนาดใหญ่ ปลูกข้าวเจ้า ปอ
ลักษณะภูมิประเทศ พม่า
สภาพภูมิประเทศของพม่านั้น ส่วนใหญ่เป็นที่สูงและเทือกเขาอยู่โดยรอบคล้ายรูปเกือกม้า กล่าวคือด้านตะวันตกและด้านเหนือเป็นพื้นที่ภูเขา และด้านตะวันออกเป็นที่ราบสูงและภูเขา ส่วนพื้นที่ราบจะอยู่ตอนกลางประเทศ บริเวณลุ่มน้ำ และตลอดแนวชายฝั่งทะเลจากด้านตะวันตกถึงด้านใต้ แนวเทือกเขาในประเทศพม่าจะทอดแนวต่อจากเทือกเขาหิมาลัยในทิศทางจากเหนือลงไปทางใต้เป็น ๓ แนว ได้แก่ ด้านตะวันตกมีเทือกเขานาคะ(Naga Hills) เทือกเขาชิน(Chin Hills) และเทือกเขายะไข่ (Rahkine Yoma) ซึ่งทอดแนวโค้งคล้ายคันศร มีเทือกเขาพะโค(Bago Yoma)อยู่ตอนกลาง และมีที่ราบสูงฉาน(Shan Plateau)สลับแนวเขาอยู่ด้านตะวันออก พื้นที่สูงและภูเขามีความสูงเฉลี่ยราว ๓,๐๐๐ ฟุต โดยมีจุดสูงสุดคือ ยอดเขาคากาโบราซี ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของประเทศ มีความสูงถึง ๑๙,๒๙๖ ฟุต
พิกัด ประเทศพม่า
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
ที่ตั้งของประเทศพม่า (เขียว)
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สีเทาเข้ม)
เมืองหลวง เนปบีดอ
เมืองที่ใหญ่ที่สุด ย่างกุ้ง
พื้นที่รวม
- 676,578 ตร.กม. (40)
- 261,227 ตร.ไมล์
ประเทศพม่า ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 676,578 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ (หรือคาบสมุทรอินโดจีน) และใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 9° และ 29° เหนือ และลองติจูด 92° และ 102° ตะวันออก
วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559
ชายแดนที่ติดกับประเทศเวียดนาม
- ทิศเหนือติดกับจีน
- ทิศตะวันตกติดกับลาว
- ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับกัมพูชา
- ทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้และอ่าว Tonkin
- ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย
ลักษณะภูมิอากาศประเทศเวียดนาม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน ตอนเหนือของเวียดนามมีกระแสลมจากขั้วโลกเหนือพัดผ่าน ทำให้อากาศเย็นจนถึงเย็นจัด (อุณหภูมิต่ำสุด 0 องศา)
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ช่วงที่อากาศร้อนที่สุดคือ เดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ในฤดูร้อนมักมีลมพายุและฝนตกหนัก ในภาคเหนือเ่เละภาคกลางมักมีพายุไต้ฝุ่นที่ทำให้เกิดความเสียหายบ่อย ๆ
ภาคกลางของเวียดนาม อากาศเปลี่ยนแปลงอย่างเร็วและแตกต่างกันมากในแต่ละภูมิภาค เช่น ในจังหวัดที่อยู่ตอนเหนือของภาค อากาศดีแถบบริเวณสันดอนปากแม่น้ำแดง ส่วนทางตอนใต้ของภาคกลางมีอากาศแบบสันดอนปากแม่น้ำโขงคือ มีฝนชุกและฤดูฝนยาวนานกว่าภาคอื่น
ภาคใต้ของเวียดนาม มี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน (เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม) ฤดูแล้ง (เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์) และฤดูร้อน (เดือนมีนาคมถึงเมษายน)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)