วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

ภูมิอากาศ ประเทศพม่า


ภูมิอากาศ ประเทศพม่า

 

สภาพอากาศ

สหภาพพม่าตั้งอยู่ในเขตมรสุมเมืองร้อน (tropical monsoon) จำแนกฤดูกาลประเทศพม่ามี 3 ฤดูเช่นเดียวกับประเทศไทย แต่จะมีฝนตกชุกและมีความชุ่มชื้นสูงกว่าไทยมาก ดังนั้น หากท่านมีปัญหาสุขภาพเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีความชื้นสูง ควรพกยาติดตัวไปด้วยทั้งนี้ นักท่องเที่ยวจะไม่นิยมเดินทางไปเที่ยวพม่าในฤดูฝนสำหรับในฤดูหนาวอากาศเย็นสบาย ทางเหนือของประเทศจะมีอากาศหนาว เป็นช่วงเวลาที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากส่วนฤดูร้อนอากาศค่อนข้างร้อน โดยเฉพาะตอนบนของพม่า ได้แก่ เมืองพุกามและมัณฑะเลย์

ฤดูฝน



ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จะพัดเข้าสู่ประเทศทำให้ฝนตกเกือบทุกวัน พื้นที่ฝนชุกที่สุดจะได้แก่พื้นที่ชายฝั่งทะเล อันได้แก่ รัฐยะไข่ มณฑลเอยาวดี มณฑลพะโค และมณฑลตะนาวศรี ได้รับปริมาณน้ำฝนถึง ๑๒๐–๒๐๐ นิ้วต่อปี ในเขตพื้นที่ราบอื่นๆจะมีฝนตกเฉลี่ย ๑๐๐ นิ้วต่อปี ทางตอนกลางของประเทศซึ่งถูกกำบังด้วยแนวเขายะไข่ด้านตะวันตกจะมีฝนตกน้อยเพียง ๒๐–๔๐ นิ้วต่อปีเท่านั้น หรือเฉลี่ยราว ๒๙ นิ้วต่อปี

ฤดูหนาว



ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย ๒๑–๒๙ องศาเซลเซียส สภาพอากาศของประเทศพม่ายังแตกต่างตามความสูงต่ำของพื้นที่อีกด้วย กล่าวคือในพื้นที่สูงจะหนาวเย็นยิ่งขึ้น และยอดเขาทางตอนบนสุดของประเทศอาจมีหิมะตกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศต่ำสุดราวศูนย์องศาเซลเซียสทางตอนบน และสูงสุด ๔๕ องศาเซลเซียสทางตอนกลางของประเทศ

ฤดูร้อน


ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งอาจอุณหภูมิสูงถึง ๔๓ องศาเซลเซียส
ทั้งประเทศจะมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 32 องศาเซลเซียส แต่ยกเว้นภาคเหนือบริเวณเทือกเขาและเขตชายแดนจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย 21 องศาเซลเซียส
ฤดูที่น่าเดินทางไปท่องเที่ยว ฤดูหนาว อากาศเย็นสบายทางเหนือของประเทศจะมีอากาศหนาว เป็นช่วงเวลาที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว
พื้นที่ตอนกลางของประเทศพม่าจะมีสภาพอากาศแห้งแล้งกว่าที่อื่น ตอนบนจะอุดมไปด้วยป่าไม้ และมีฝนตกชุกมากในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตอนล่าง พื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ของพม่าจะอยู่ ณ บริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำอิรวดี สะโตง และสาละวิน ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญต่อการปลูกข้าวและผลไม้เมืองร้อน

ลักษณะภูมิอากาศ

ภูมิอากาศของประเทศพม่าจะแบ่งได้เป็น 2 แบบตามลักษณะของภูมิประเทศคือ ตอนบนของประเทศเป็นแบบร้อนแห้งแล้งเพราะอยู่ในบริเวณเขตเงาฝน เทือกเขาสูงจำนวนมากคอยปิดกั้นลมมรสุมที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล ทำให้บริเวณตอนบนของประเทศในส่วนของที่ราบสูงจะมีอากาศที่ค่อนข้างร้อนและแห้งแล้ง ส่วนเทือกเขาตอนบนจะมีอากาศเย็นกว่า ด้านตอนล่างบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำจะมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น และมีลมมรสุมพัดผ่านทำให้ความอุดมสมบูรณ์กว่าตอนบนของประเทศ ประเทศเมียนมาร์มีอากาศแบบร้อนชื้น แต่ไม่ร้อนจัด มีภูมิอากาศคล้ายคลึงกับประเทศไทย
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศค่อนข้างเย็น และค่อนข้างแห้งแล้ง
  • มรสุมเมืองร้อน ด้านหน้าภูเขาอาระกันโยมา ฝนตกชุกมาก
  • ภาคกลางตอนบนแห้งแล้งมาก เพราะมีภูเขากั้นกำบังลม
  • ภาคกลางตอนล่าง เป็นดินดอนสามเหลี่ยวปากแม่น้ำขนาดใหญ่ ปลูกข้าวเจ้า ปอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น